วันจันทร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

เทคโนโลยีการสื่อสาร 5 จี

เทคโนโลยีการสื่อสาร 5 จี



  ประสิทธิภาพของเทคโนโลยีข้างต้นทำให้ต้องใช้แพล็ตฟอร์มเครือข่ายการสื่อสารที่มีขีดความสามารถสูงขึ้นปีนี้จะเป็นการมาถึงของเครือข่ายการสื่อสารและผลิตภัณฑ์อุปกรณ์สื่อสารที่สนับสนุน 5 จี ซึ่งจะทำให้การส่งและรับข้อมูลไร้สายมีความเร็วสูง และสร้างเสถียรภาพให้กับไอโอที มีความเร็ว สูงกว่า 4 จีร้อยละ 15-50 มีเอกชนยักษ์ใหญ่เป็นผู้ผลักดัน


ช่วงนี้เราเริ่มได้ยินคำว่า 5G กันมากขึ้นเรื่อยๆ เหล่าเครือข่ายและผู้ผลิตมือถือทั่วโลกก็เริ่มออกมาเคลมว่าตัวเองรองรับ 5G กัน แต่หลายๆคนก็อาจจะงงว่า 5G แล้วยังไงเหรอ มันก็แค่เน็ตเร็วขึ้นกว่าเดิมรึเปล่า ตอนนี้ก็สามารถเล่นเฟสดูยูทูปได้ก็พอแล้วนี่นาจะเอาอะไรมากกว่านี้อีก วันนี้เดี๋ยวผมจะเอามาเล่าให้ฟังเพิ่มเติมกันครับ ว่า 5G วันนี้อาจจะฟังดูไกลตัว แต่มันกลับใกล้ชีวิตเรามากกว่าที่คิดเลยล่ะครับ

5G คืออะไร?

5G ที่เราเรียกๆกันอยู่นี่ มันย่อมาจาก เจนเนอเรชั่นที่ 5 ของการสื่อสารด้วยโทรศัพท์มือถือ (5th Generation of Cellular Mobile Communications) ซึ่งปัจจุบันได้มีข้อกำหนดออกมาเกือบสมบูรณ์แล้วและเตรียมจะประกาศใช้ในช่วงปี 2020 ที่จะถึงนี้ ปัจจุบันเราจะได้เห็นการเตรียมพร้อมของแต่ละเครือข่ายทั่วโลกพัฒนาตนเองให้รองรับการมาของ 5G ตั้งแต่ปีหน้ากันแล้ว โดยคุณสมบัติของเครือข่ายที่จะเรียกตัวเองว่า 5G ได้นั้นจะมีดังนี้
  • ความเร็วสูงสุด 10Gbps
  • Latency ระยะเวลาการเชื่อมต่อไปยังปลายทาง น้อยกว่า 0.001 วินาที
  • มีความเสถียรใช้งานได้ 99.9999%
  • ครอบคลุมพื้นที่ 100%
  • มี Bandwidth เพิ่มขึ้น 1000 เท่าในแต่ละพื้นที่
  • รองรับการเชื่อมต่อจากอุปกรณ์ เพิ่มขึ้น 100 เท่า ในแต่ละพื้นที่
  • ใช้พลังงานในการเชื่อมต่อน้อยลง 90%
  • อุปกรณ์ IoT พลังงานต่ำเมื่อเชื่อมต่อแบตจะมีอายุการใช้งานได้ถึง 10 ปี
แต่ละ Generation มีการพัฒนาอย่างไรบ้าง
  • 1G การคุยกันด้วยเสียง
  • 2G รองรับการส่งข้อความหากัน
  • 3G เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วไป
  • 4G ดูภาพและเสียงได้
  • 5G การเชื่อมต่อสิ่งของทุกสรรพสิ่ง

ความเปลี่ยนแปลงจาก 4G → 5G

เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้นเดี๋ยวมาดูกันเพิ่มเติมว่าเมื่อเทียบกับ 4G แล้ว 5G มีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง
  • Latency การตอบสนองที่ไว้ขึ้น สามารถสั่งงานควบคุมสิ่งต่างๆได้อย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่าแทบจะทันที จากตอน 4G ถ้าตามทฤษฎีจะอยู่ที่ 10ms ซึ่งเมื่อใช้งานจริงจะอยู่ราว 20-30ms แต่เมื่อเป็น 5G จะลดลงไปถึง 10 เท่า เหลือน้อยกว่า 1ms ทางทฤษฎี ซึ่งคาดว่าเมื่อใช้งานจริงจะอยู่ราว 3-4ms
  • Data Traffic รองรับการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า จากที่ใน 4G จะสามารถรับส่งข้อมูลต่อเดือนได้ราว 7.2Exabytes ต่อเดือน แต่เมื่อขึ้นเป็น 5G จะเพิ่มขึ้นราว  7 เท่า หรือ 50 Exabytes ต่อเดือน
  • Peak Data Rates ความเร็วเพิ่มขึ้นสูงสุด 20 Gbps หรือราว 20 เท่าจากเดิม
  • Available Spectrum ความถี่สำหรับใช้งาน เพิ่มขึ้นจากตอน 4G ที่มีให้ใช้เพียง 3GHz แต่เมื่อเป็น 5G จะสามารถใช้งานคลื่นได้จนถึงความถี่ 30GHz
  • Connection Density ความหนาแน่นของการใช้งาน เพิ่มขึ้น 10 เท่าจากที่สามารถรับคนได้ราว 1 แสนคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม. กลายเป็น 1 ล้านคนต่อพื้นที่ 1 ตร.กม.

เราจะได้ประโยชน์อะไรจาก 5G?

หลังจากเห็นตัวเลขอะไรมากมายน่ามึนหัวสำหรับหลายๆคนมาแล้ว มาลองดูการใช้งานจริงกันบ้างดีกว่าว่าถ้าเปลี่ยนจากตัวเลขเหล่านั้นเป็นการใช้งานจริง อะไรจะเกิดขึ้นได้บ้าง มีการแบ่งการใช้งาน 5G ออกเป็น 3 แกนหลักด้วยกัน ได้แก่ Enhanced mobile broadband (eMBB), Massive machine type communications (mMTC), และ Ultra-reliable and low latency communications (URLLC) โดยแต่ละการใช้งานจะมีส่วนผสมของแต่ละแกนมาน้อยต่างกันไป
Enhanced mobile broadband (eMBB) เพิ่มศักยภาพการรับ-ส่งข้อมูล เมื่อมีความเร็วที่มากขึ้นแล้วเราก็สามารถสตรีมวิดีโอความละเอียดสูงๆระดับ 4K, ทำงานทุกอย่างอยู่บน Cloud  โหลดภาพโหลดข้อมูลต่างๆมาได้แทบจะทันที่ที่ต้องการ
Massive machine type communications (mMTC) รองรับการเชื่อมต่อจำนวนมากๆได้ ก็สามารถใช้งานเหล่าอุปกรณ์ IoT ที่คาดกันว่าจะมีเพิ่มขึ้นหลายร้อยเท่าตัวจากในปัจจุบัน ลองนึกภาพสิ่งของทุกชิ้นที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน ทั้งรถยนต์ พัดลม ประตูบ้าน โทรทัศน์ ตู้เย็น ไมโครเวฟ ฯลฯ เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องใช้ WiFi แต่ผ่านเครือข่ายมือถือแทน การเชื่อมต่อจะมหาศาลแค่ไหน นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม 5G จึงต้องรองรับการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นจากตอน 4G ถึง 10 เท่าตัวนั่นเอง
Ultra-reliable and low latency communications (URLLC) การเชื่อมต่อที่เสถียรและตอบสนองไว จนเราสามารถควบคุมอุปกรณ์ต่างๆระยะไกลได้แบบไม่ต้องกังวลถึงการดีเลย์ของภาพและเสียง การศึกษาผ่านระบบ AR, แพทย์ควบคุมการผ่านตัดจากที่อื่น หรือควบคุมรถยนต์ไร้คนขับก็จะสามารถทำได้อย่างไรกังวลนั่นเอง

ประเทศไทยเราพร้อมแค่ไหนสำหรับ 5G?

เทคโนโลยีที่ใช้ในกันใน 5G ได้แก่ Millimeter Waves, Small Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex ซึ่งในปัจจุบันเราจะได้เห็น Small Cell, Massive MIMO, และ Beamforming กันแล้วในทุกเครือข่าย แต่ความครอบคลุมและแพร่หลายของเทคโนโลยีอาจจะยังไม่เท่ากัน บางเจ้านำไปใช้แล้วในหลายพื้นที่ บางค่ายทดลองใช้แค่ไม่กี่แห่ง ส่วน Full Duplex ปัจจุบันจะยังใช้เป็น FDD หรือ TDD ส่วน Millimeter Waves หรือการนำเอาคลื่นความถี่สูงกว่าที่ใช้กันในปัจจุบันมาเปิดให้บริการเพิ่ม ในเมืองไทยจะยังไม่พร้อมเท่าไหร่นัก เพราะยังไม่มีการจัดสรรคลื่นในช่วงความถี่สูงๆเกิน 3GHz ออกมาให้ได้เห็นกันแม้แต่คลื่นเดียว แต่ยังดีว่าในปัจจุบันแต่ละค่ายมีคลื่นความถี่ในมือเกิน 100MHz ซึ่งเป็นจำนวนที่ทั้ง Ericssons หรือ Huawei ผู้นำด้านการทำเครือข่าย 5G ต่างก็แนะนำให้ประเทศที่ต้องการจะเข้าถึง 5G โดยเร็วมีไม่น้อยกว่านี้ โดยคนที่ดูจะมีความพร้อมมากที่สุดตามลำดับ ได้แก่ AIS, TrueMove H, และ dtac โดยคิดตามจำนวนคลื่นที่ครอบครอง เทคโนโลยีที่ใช้ และความแพร่หลายของเทคโนโลยีนะครับ

จำนวนคลื่นที่แต่เครือข่ายมีครอบครอง

เครือข่ายความถี่จำนวนคลื่นเทคโนโลยี
AIS
รวม 120MHz
900MHz 10×2MHzSmall Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex, NB-IoT
1800MHz20×2MHz
2100MHz15×2×2MHz
TrueMove H
รวม 110MHz
850MHz15×2MHzSmall Cell, Massive MIMO, Beamforming, Full Duplex
900MHz10×2MHz
1800MHz15×2MHz
2100MHz15×2MHz
dtac
รวม 100MHz
1800MHz5×2MHzSmall Cell, Full Deplex
2100MHz15×2MHz
2300MHz60×1MHz
โดยสรุปคือในปี 2020 สำหรับคนไทยที่ต้องการใช้ 5G เราจะมีเครือข่ายที่พร้อมใช้งานแน่ๆแล้ว ไม่ต้องห่วงว่าเทคโนโลยีบ้านเราจะตามใคร แต่ที่ต้องคิดมากกว่าคือคนไทยที่มีความพร้อมใช้งาน 5G นี้จะมีมากเท่าไหร่ เตรียมพร้อมกับความเปลี่ยนแปลงของโลกที่กำลังจะมาเร็วๆนี้หรือยังครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น