วันจันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

ประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย


ประวัติความเป็นมาของ " ดนตรีไทย " 


ดนตรีไทยมีรากเหง้าเก่าแก่อยู่ในอุษาคเนย์ราว ๕,๐๐๐ ปีมาแล้ว เป็น “เครือญาติ” วัฒนธรรมร่วมของดนตรีสุวรรณภูมิ เช่นเดียวกับดินแดนและผู้คนในสุวรรณภูมิ (สุจิตต์  วงษ์เทศ, ๒๕๕๓)



ดนตรีอุษาคเนย์ก่อนประวัติศาสตร์
            ดนตรีอุษาคเนย์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ จะแบ่งเป็น ๒ ยุค คือ ยุคหิน และ ยุคโลหะ
·     ยุคหิน
เครื่องดนตรี  พบ เกราะ โกร่ง กรับ และโปง ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่พบทั่วไปในอุษาคเนย์ จัดกลุ่มให้เป็นเครื่องดนตรีใน “วัฒนธรรมไม้ไผ่”
นอกจากนี้ ยังพบ ระนาดหิน ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีที่นำขวานหินขนาดต่างๆ มาเรียงต่อกัน ผูกร้อยด้วยเชือกคล้ายระนาดไม้ เคาะแล้วเกิดเสียงต่างกันเป็นเสียงดนตรี ในประเทศไทยพบระนาดหินที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และยังพบได้ทั่วไปในดินแดนสุวรรณภูมิ   ปัจจุบันประเทศเวียดนามยังใช้ระนาดหินในการแสดงอยู่
            บทบาทและหน้าที่ของดนตรี  ดนตรีอุษาคเนย์ในยุคหิน จะมีเพื่อใช้เป็นสัญญาณ และประกอบพิธีกรรม

                 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ โกร่ง เกราะ กรับ                                                                        ภาพที่ ๑ โกร่ง เกราะ กรับ  

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โปงไม้
                                                                               ภาพที่ ๒  โปงไม้      

                                                 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ภาพที่ ๓ ระนาดหิน
ภาพที่ ๓ ระนาดหิน

·       ยุคโลหะ
เครื่องดนตรี  พบ มโหระทึก เป็นเครื่องดนตรีที่จัดอยู่ใน “วัฒนธรรมฆ้อง”  ซึ่งเป็นวัฒนธรรมที่โดดเด่นและเป็นสัญลักษณ์ร่วมเฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   
กลองมโหระทึก เป็นกลองประเภทกลองโลหะ  หน้ากลองจะมีรูปปั้นกบหรือเขียด  ส่วนตรงกลางของหน้ากลองเป็นรูปพระอาทิตย์ ซึ่งทั้งหมดเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์
ในประเทศไทยพบหลักฐานว่ามีมโหระทึกในยุคก่อนประวัติศาสตร์ คือ ภาพวาดฝาผนังถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี และพบมโหระทึกในจังหวัดอื่นๆ เช่น นครศรีธรรมราช อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี เป็นต้น เป็นรูปขบวนแห่ประกอบพิธีกรรม  นอกจากนี้ กลองมโหระทึกยังพบที่พม่า ลาว อินโดนีเซีย จีน   กลองมโหระทึกที่พบครั้งแรกที่เมืองดองซอน ประเทศเวียดนาม เราจึงเรียกวัฒนธรรมสำริด โดยมีกลองมโหระทึกเป็นตัวแทนว่า “วัฒนธรรมดองซอน”  ปัจจุบันประเทศไทยตีกลองมโหระทึกประกอบในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ในเดือนพฤษภาคมของทุกๆ ปี
นอกจากกลองมโหระทึกที่เป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมโลหะที่แสดงความสัมพันธ์ของชาวอุษาคเนย์แล้ว  ในยุคโลหะยังพบเครื่องดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรม เช่น กระดิ่งหรือระฆังสำริด ในพม่า ไทย มาเลเซีย และกัมพูชา และยังพบกระพรวนอีกด้วย
บทบาทและหน้าที่ของดนตรี  ดนตรีอุษาคเนย์ในยุคโลหะใช้เพื่อประกอบพิธีกรรม

                   à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กลองมโหระทึก      à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กลองมโหระทึก

             ภาพที่ ๔ กลองมโหระทึก         ภาพที่ ๕ ประติมากรรมรูปกบบนหน้ากลองมโหระทึก

                        à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กระดิ่งสำริด                    à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ กระพรวนสำริด                          

                                            ภาพที่ ๖ กระดิ่งสำริด                          ภาพที่ ๗ กระพรวนสำริด

ดนตรีอุษาคเนย์ยุคประวัติศาสตร์
            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในยุคประวัติศาสตร์ก่อนสมัยสุโขทัย ปรากฏหลักฐานต่างๆ ดังนี้
·     เทวรูปพระนารายณ์  เป็นเทวรูปที่เก่าที่สุดในเอเชียอาคเนย์ พบที่อำเภอไชยา จังหวัด           สุราษฎร์ธานี ปัจจุบันรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภาพที่ ๘) เทวรูปองค์นี้คงมีอายุราวพุทธศตวรรษที่ ๙-๑๐ เครื่องดนตรีที่ปรากฏคือ สังข์ในหัตถ์ซ้ายล่าง 
สังข์ เป็นเครื่องเป่า เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องประโคม ใช้ในงานมงคล

               à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ เทวรูปพระนารายณ์                       à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ คณะพราหมณ์เป่าสังข์ในพระราชพิธีสมโภชเสาชิงช้า

  ภาพที่ ๘ เทวรูปพระนารายณ์          ภาพที่ ๙ คณะพราหมณ์เป่าสังข์ในพระราชพิธีสมโภชเสาชิงช้า

·     เทวรูปพระศิวะนาฏราช เป็นปางหนึ่งของพระศิวะ เป็นบรมครูของศิลปะการร่ายรำหรือนาฏยศาสตร์ของอินเดีย ความเชื่อว่าการเต้นรำของพระศิวะก่อให้เกิดปฏิกิริยาของการสร้างโลกและมนุษย์ ศิวนาฏราชจะปรากฏในท่าย่างสามขุม (ตรีวิกรม) ซึ่งเป็น ๑ ใน ๑๐๘ ท่าที่ออกแบบโดยพระศิวะ โดยมีสัญลักษณ์ที่พระกรขวาถือกลองคือการสร้างโลก พระกรซ้ายมีเปลวเพลิงล้อมเป็นกรอบคือการสิ้นสุดที่ไฟจะเผาผลาญโลก 
กลองในพระหัตถ์ของพระศิวะในปางศิวะนาฏราชนี้ เป็นกลองสองหน้า เอวตรงกลางคอด มีลูกตุ้มยึดกับสายสำหรับใช้กระทบหน้ากลองทั้งสองข้าง กลองนี้เรียกว่ากลอง ทมรุ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีเพียงชิ้นเดียวที่องค์พระศิวะท่านเลือกใช้ประกอบการร่ายรำอันยิ่งใหญ่นี้ ผู้ประกอบพิธีในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้นำเอากลองนี้มาใช้ในการประกอบพิธีมงคล และพัฒนามาเป็นเครื่องดนตรีที่เรียกว่าบัณเฑาะว์” 

             à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ พระศิวะนาฏราช                 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ บัณเฑาะว์                       

                          ภาพที่ ๑๐ พระศิวนาฏราช                                       ภาพที่ ๑๑ บัณเฑาะว์
                     ที่มา: http://www.m-culture.in.th/

·     เทวรูปอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรี เช่น พระคเณศถือสังข์ พระกฤษณะเป่าขลุ่ย และนางสุรัสวดีดีดพิณ เป็นต้น
·     จดหมายเหตุของจีนฉบับต่างๆ ที่บันทึกระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๐ ถึง พุทธศตวรรษที่ ๑๒ พบเครื่องดนตรีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในดินแดนสุวรรณภูมิ ดังนี้ คนร้องเพลง สังข์ กลอง ระฆัง และการฟ้อนรำ

ดนตรีไทยในสมัยทวารวดี
            หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีในสมัยทวารวดี ปรากฏหลักฐานต่างๆ ดังนี้

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพที่ ๑๒ ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิง ๕ คน

ภาพที่ ๑๒ ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิง ๕ คน

·     ภาพปูนปั้นนักดนตรีหญิง ๕ คน  พบที่เมืองโบราณที่ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นปูนปั้นประดับฐานเจดีย์รูปนักดนตรีหญิง ๕ คน นั่งพับเพียบเข่าชิด ไม่สวมเสื้อ มีสไบพาดคล้องบ่า  บางคนสวมเครื่องประดับ คือ ตุ้มหู ลักษณะการบรรเลงดนตรีของนักดนตรีหญิงทั้ง ๕ เรียงจากซ้ายไปขวา ดังนี้ คนที่ ๑ ในมือถือเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกับพิณน้ำ    เต้า กำลังทำท่าบรรเลง คนที่ ๒ ในมือถือเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นฉิ่ง เนื่องจากมีลักษณะกลมป้อม เป็นฝา ๒ ฝา แสดงท่ากำลังตี คนที่ ๓ มีเครื่องดนตรีคือพิณ ๕ สาย วางพาดอยู่บนตัก แสดงอาการบรรเลงโดยการดีด คนที่ ๔ นั่งเท้าแขนขวา ใช้แขนซ้ายจับบริเวณข้อศอกขวา ไม่ปรากฏเครื่องดนตรี สันนิษฐานว่าเป็นนักร้อง คนที่ ๕ ถือเครื่องดนตรีชิ้นหนึ่ง สันนิษฐานว่าเป็นกรับ เนื่องจากการบรรเลงเครื่องดนตรีชิ้นนี้ คือ การตีลงไปบนมืออีกข้างหนึ่งให้เกิดเสียง 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ประติมากรรมยักษ์แคระ มีปีก ถือเครื่องดนตรี
ภาพที่ ๑๓ ประติมากรรมยักษ์แคระ
มีปีก ถือเครื่องดนตรี

·     ประติมากรรมยักษ์แคระมีปีกถือเครื่องดนตรี   พบที่ฐานเจดีย์จุลประโทน จังหวัดนครปฐม รายละเอียดภาพที่ปรากฏเป็นรูปบุคคลที่มีเศียรเป็นมนุษย์ ด้านหลังตัวมีปีกนก มีขาเป็นสัตว์ ถือเครื่องดนตรี ลักษณะดังกล่าวอาจะหมายถึงครุฑ เทวดา คนธรรพ์ หรือ วิทยาธร ที่กำลังเล่นเครื่องดนตรี 

เทวดา คนธรรพ์ กินรี กินนร หรือวิทยาธร โดยคติแล้วถือเป็นยักษ์จำพวกหนึ่ง อาศัยในป่าเขา ชอบเล่นดนตรี โดยเฉพาะคนธรรพ์ ดังนั้น ประติมากรรมปูนปั้นดังกล่าวก็คือคนแคระที่หมายถึงยักษ์ อีกทั้งประติมากรรมรูปคนแคระมีปีก หรือคนแคระเล่นเครื่องดนตรีก็ปรากฏอยู่ทั่วไปในงานศิลปกรรมของอินเดียและเอเชียตะวันออกใต้เช่นเดียวกัน   
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระฆังหิน
ภาพที่ ๑๔ ระฆังหิน

·     ระฆังหิน  เป็นหินที่มีเสียง จะพบอยู่ในแหล่งโบราณคดีสมัยทวารวดี เช่น จังหวัดราชบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม เป็นหินลักษณะแบนๆ ความหนาประมาณ ๒๐ - ๓๐ ซม. รูปทรงเบี้ยวตามธรรมชาติ บางแผ่นมีความยาวถึง ๑ เมตร ตรงมุมยืนจะเจาะเป็นรูกลมของแผ่นหิน ซึ่งนำมาแขวนแล้วใช้ไม้เคาะมีเสียงดังกังวาน พบอยู่ตามซากโบราณสถานสำคัญ

 ดนตรีไทยในสมัยลพบุรี
            มักพบภาพสลักหินเกี่ยวกับเครื่องดนตรีแฝงอยู่ตามหน้าบันและทับหลังของโบราณสถานแบบอิทธิพลศิลปะเขมรที่เรียกกันว่าปราสาทมีอายุในราวกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๖ ถึงกลางพุทธศตวรรษที่ ๑๗ เท่าที่พบมีดังนี้
            . หน้าบันด้านตะวันออก ของปราสาทหรือพระธาตุนารายณ์เจงเวง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เป็นภาพพระศิวนาฏราชหรือพระอิศวรทรงฟ้อนรำอยู่ตรงกลางท่ามกลางเทพ ๕ องค์ ๒ ใน ๕ คือ พระอุมาหรือพระนางปารพตี มเหสี และพระคเณศ โอรส อีก ๓ องค์ คือ นักดนตรีกำลังดีดพิณ ๑ องค์ ตีฉิ่ง ๑ องค์ และทำท่าคล้ายจะสีซออีกองค์เพราะภาพชำรุดไป
            . ทับหลังจากปราสาทศรีขรภูมิ อำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ เป็นภาพพระศิวนาฏราช พระอิศวรทรงยืนฟ้อนรำบนหลังหงส์เหนือหน้ากาลตรงกลาง ตอนล่างด้านขวาคือ พระนารายณ์กำลังทำท่าคล้ายตีฉิ่ง และพระอุมาคล้ายถือบัณเฑาะว์ด้วยพระหัตถ์ข้างหนึ่ง ส่วนด้านซ้ายคือพระพรหมซึ่งสองพระหัตถ์ล่างกำลังตีฉิ่ง และพระคเณศกำลังตีกลอง


            . ทับหลังที่ปราสาทหินพิมาย อำเภอพิมาย จังหวัดนครราชสีมา มี ๒ อันได้แก่
            ทับหลังทิศตะวันตก  ประกอบด้วยภาพสลัก ๒ แห่ง แนวบนเป็นภาพพระพุทธรูปทรงเครื่องยืนระหว่างต้นไม้คู่หนึ่ง มีพระยามารเฝ้าอยู่ข้างๆ พร้อมบริวารและมีขบวนราชยานคานหามกับเครื่องสูงอยู่ริมซ้ายแนวล่างเป็นรูปพนักงานชาวประโคมกับนักฟ้อนรำ สันนิษฐานว่าเป็นภาพพระพุทธประวัติตอนเทศนาโปรดพระยามารตามพุทธศาสนาฝ่ายมหายานซึ่งอนุญาตให้มีดนตรีประกอบเทศนาได้
            สำหรับภาพพนักงานชาวประโคมที่ปรากฎในแนวล่าง ประกอบด้วย ผู้เป่าสังข์ ๑ ตีกลองหน้าเดียวโดยแขวนสะพายแล่งบ่า ๑ เป่าแตร (น่าจะทำด้วยเขาสัตว์) ๑ ตีกลองสองหน้าโดยแขวนสะพายแล่งบนบ่า ๑ ผู้หามฆ้องขนาดใหญ่ ๒ พร้อมคนตี ๑ และคนเป่าขลุ่ย ๑ ตามลำดับ แต่ละคนเล่นดนตรีไปด้วยเต้นไปด้วย
            ทับหลังทิศตะวันออก เป็นภาพเรื่องรามายณะตอนสุครีพครองเมือง ประกอบด้วยภาพพระลักษมณ์ประทับบนราชยาน มีพลวานรเป็นพลแบกและพลบริวารเบื้องหน้า สุครีพประทัพบนคานหามแบกโดยพลลิงทั้งสองข้างแวดล้อมด้วยเครื่องสูง รงมทั้งเครื่องดนตรีประกอบเกียรติยศตรงใต้ราชยานของพระลักษมณ์โดยพลวานรเป็นผู้บรรเลง เครื่องดนตรีที่ปรากฎได้แก่ เครื่องเป่า ๒ ชนิด คือ ขลุ่ยกับแตรเขาสัตว์ เครื่องตี ๒ ชนิด คือ ฆ้องแบกโดยพลวานร ๒ ตน ตัวยืนข้างหลังเป็นผู้ตี กับกลองสองหน้าที่มีสายคล้องคอลงมาตีด้วยมือ

ดนตรีไทยสมัยสุโขทัย
            หลักฐานที่แสดงเรื่องราวของดนตรีสมัยสุโขทัยได้ชัดเจน ได้แก่ ศิลาจารึกสมัยสุโขทัยที่มีบันทึกเรื่องดนตรี คือ ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง) จารึกการสมโภชรอยพระพุทธบาท และจารึกวัดพระยืน เมืองลำพูน นอกจากศิลาจารึกแล้ว ยังปรากฏเรื่องราวของดนตรีในภาพปูนปั้นประกอบหน้าบันของปรางค์วัดพระพายหลวง และปรากฏในไตรภูมิพระร่วงอีกด้วย
·     ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง (ศิลาจารึกหลักที่หนึ่ง) พ.ศ.๑๘๓๕ จารึกเรื่องราวของชาวสุโขทัย มีข้อความตอนหนึ่งกล่าวถึงเครื่องดนตรีไทยไว้ว่า
(ด้านที่ ๑) “ปากประตูมีกะดิ่งอันณึ่ง แขวนไว้หั้นไพร่ฟ้าหน้าปกกลางบ้านกลางเมือง มีถ้อยมีความ เจ็บท้อง ข้องใจ มันจักกล่าว เถิงเจ้าเถิงขุนบ่ไร้ไปลั่นกะดิ่งอันท่านแขวนไว้...”
(ด้านที่ ๒) “...ดํบงคํกลอง ด้วยเสียงพาดเสียงพิณ เสียงเลื้อน เสียงขับ ใครจักมักเล่น เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน...”
เครื่องดนตรีที่ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง ดังนี้ กระดิ่ง การประโคมกลอง (ดํบงคํกลอง) เครื่องดนตรีประเภทตี (พาทย์) พิณ เสียงเอื้อน (เสียงเลื้อน) เสียงร้อง (เสียงขับ)
·     ศิลาจารึกเขาสุมนกูฏ  เขาพระบาท อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย  พ.ศ.๑๙๑๒ ได้บันทึกชื่อเครื่องดนตรีและการละเล่นไว้ ดังนี้
“ปลาก (ปลาย) หนทางย่อมเรียงขันหมากขันพลู บูชาพิลม (อภิรมย์) ระบำเต้นเล่นทุกฉัน (ทุกอย่าง)... ด้วยเสียงสาธุการบูชา อีกดุริยพาทย์พิณฆ้องกลอง เสียงดีดสีพอดังดินจักหล่มอั้น (เพียงดินจักถล่มนั้น)”
เครื่องดนตรีและการละเล่นที่ปรากฏในศิลาจารึกเขาสุมนกูฎ ดังนี้ รำบำ เต้น ดนตรี (ดุริย) เครื่องดนตรีประเภทตี (พาทย์) พิณ ฆ้อง กลอง เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย (ดีด, สี) 
·     ศิลาจารึกวัดพระยืน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน พ.ศ.๑๙๑๓ เป็นจารึกที่มีชื่อเครื่องดนตรีปรากฏอยู่มากที่สุด ดังนี้
“...ตีพาทย์ดังพิณฆ้องกลองปี่สรไนพิสเนญชัย ทะเทียด กาหล แตรสังข์มาน กังสดาล มรทงค์ ดงเดือด เสียงเลิศ เสียงก้อง อีกทั้งคนร้องโห่อื้อดาสะท้านทั่วทั้งนครหริภุญชัยแล...”
เครื่องดนตรีที่ปรากฏในศิลาจารึกวัดพระยืน ดังนี้ เครื่องดนตรีประเภทตี (พาทย์) พิณ ฆ้อง กลอง ปี่ไฉน (ปี่สรไน) แตรเขาสัตว์ (พิสเนญชัย) กลองสองหน้า (ทะเทียด) แตรงอน (กาหล) แตร สังข์ กังสดาล ตะโพน (มรทงค์) และกลองทัด (ดงเดือด)
มรทงค์ หรือ ตะโพน เป็นสิ่งแทนดุริยเทพที่นักดนตรีไทยนับถือมาก  คือ พระปรคนธรรพ อีกทั้ง ตะโพนจะเป็นผู้ขึ้นเพลงสาธุการ ซึ่งเปรียบได้กับเพลงครูของนักดนตรีไทย เมื่อนักดนตรีไทยได้ยินเสียงตะโพนขึ้นเพลงสาธุการจะพนมมือไหว้เพื่อแสดงความเคารพครู
·     ภาพปูนปั้นประกอบหน้าบันทางทิศเหนือของปรางค์วัดพระพายหลวง ซึ่งกิตติ  วัฒนะมหาตม์ กล่าวใน สารนิพนธ์เรื่องดนตรีสุโขทัย: ศึกษาและวิเคราะห์จากหลักฐานโบราณคดีที่ปรากฏในประเทศไทย ว่า  มีลักษณะชำรุดไปมากไม่สมบูรณ์ อ.มนตรี  ตราโมท กล่าวว่า ได้เห็นครั้งหนึ่งในคราวไปราชการที่สุโขทัย และได้ชำรุดเสียแล้วในภายหลังได้อ้างอิงภาพปูนปั้นนี้ประกอบคำบรรยายเรื่องดนตรีสมัยสุโขทัย ในปี พ.ศ.๒๕๐๑ ในปัจจุบันภาพนี้ชำรุดมาก ลักษณะภาพประกอบด้วยรูปคนกำลังเต้นระบำและคนยืนบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง พิจารณาจากร่องเครื่องดนตรีส่วนที่ยังเหลือและท่าทางในการบรรเลง อาจจะกล่าวได้ว่า เป็นเครื่องดนตรีลักษณะคล้ายกับภาพคนยืนบรรเลงพิณน้ำเต้าสายเดียวพบที่เทวสถานบายน นครธม มีอายุราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ แต่ว่า อ.มนตรี  ตราโมท เมื่อได้เห็นภาพลายปูนปั้นนี้เป็นครั้งแรก ท่านได้สรุปว่า คนยืนดีดกระจับปี่  ภาพนี้เป็นหลักฐานเพียงชิ้นเดียวที่แสดงภาพเครื่องดนตรีในสมัยสุโขทัย (กิตติ วัฒนะมหาตม์, 2533: 53)
·     ไตรภูมิพระร่วง  มีข้อความที่เกี่ยวกับการละเล่นดนตรีและเครื่องดนตรีปรากฏ โดยแยกประเภทได้ดังนี้
๑. ประเภทที่เกี่ยวกับนาฏศิลป์และการละเล่น ได้แก่คำว่า บ้างเต้นบ้างรำ บ้างฟ้อน ระบำ กับฉิ่งริงรำจับระบำรำเต้น                  
๒. ประเภทที่เกี่ยวกับการบรรเลงดนตรีและการขับร้อง ได้แก่คำว่า บันลือเพลง ร้อง ขับ ดีด สี ตี เป่า และ ดุริยดนตรี
๓. ประเภทที่เกี่ยวกับเครื่องดนตรี ได้แก่คำว่า ฆ้อง กลอง กลองใหญ่ กลองราม กลองเล็ก แตรสังข์ กังสดาล มโหระทึก พาทย์ พิณ ฉิ่ง แฉ่ง บัณเฑาะว์  ตีกลอง ตีพาทย์ ตีกรับ ดีดพิณ สีซอพุงตอ เป่าปี่แก้ว ปี่ไฉน บัญจางคิกดุริย พิณพาทย์ และนาดรำ  (ปัญญา  รุ่งเรือง, ๒๕๔๖: ๕๕)

วงดนตรีไทย ที่ปรากฏในสมัยสุโขทัย ดังนี้
·     วงปี่พาทย์เครื่องห้า ประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ ปี่ ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด ฉิ่ง
·     วงขับไม้ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี คือ คนขับลำนำ ซอสามสาย บัณเฑาะว์ 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยสุโขทัย                   à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงขับไม้

                        ภาพที่ ๑๕ วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยสุโขทัย                  ภาพที่ ๑๖ วงขับไม้
บทบาทและหน้าที่ของดนตรีไทยในสมัยสุโขทัย แบ่งได้ ๓ ประเภท คือ
๑.    หน้าที่ประกอบการแสดง  ได้แก่ การระบำ รำ ฟ้อน เต้น
๒.  หน้าที่ขับกล่อม ได้แก่ การขับ การร้อง
๓.  หน้าที่ประกอบพิธีการ ได้แก่ การประโคมและการแห่แหน
๔.  ทำหน้าที่เป็นสัญญาณ ดังปรากฏ กระดิ่ง ที่เอาไว้ลั่นเพื่อร้องทุกข์ นอกจากนี้ คำว่า “ทุ่ม” และ “โมง” ที่ใช้บอกเวลาในปัจจุบัน ได้รับอิทธิพลมาจากเสียงของเครื่องดนตรีเพื่อใช้บอกเวลาในอดีต “ทุ่ม” เกิดจากเสียงของการตีกลอง เช่น ๒ ทุ่ม หมายถึง เมื่อถึงเวลานี้จะตีกลอง ๒ ที ส่วนคำว่า “โมง” เกิดจากเสียงของการตี โหม่ง

ดนตรีไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
            หลักฐานที่แสดงเรื่องราวของดนตรีสมัยกรุงศรีอยุธยามีจำนวนมาก ยกตัวอย่างที่สำคัญ เช่น          กฎมณเฑียรบาล จดหมายเหตุลาลูแบร์ หนังสือจินดามณี เป็นต้น
·       กฎมณเฑียรบาล กล่าวถึงเรื่องดนตรีไทยและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ ตอนที่ ๑๕ “แต่ประตูแสดงรามถึงสระแก้ว ไอยการหมื่นโทวาริก ผี้วชายหญิงเจรจาด้วยกันก็ดี  นั่งในที่สงัดก็ดี อนึ่งทอดแหแลตกเบดสุ่มส้อนซ้อนชนาง แลร้องเพลงเรือเป่าขลุ่ยเป่าปี่ที่ดีตีทับขับรำโห่ร้องที่นั่น ไอยการหมื่นโทวาริก ถ้าจับได้โทษ ๓ ประการ ประการหนึ่งให้ส่งมหาดไท ประการหนึ่งให้ส่งองครักษ์ประการหนึ่งให้ส่งสักลงหญ้าช้าง”  และตอนที่ ๒๐ อนึ่งในท่อน้ำในสระแก้ว  ผู้ใดขี่เรือคฤเรือปทุนเรือกูบแลเรือมีสาตราวุธ  แลใส่หมวดคลุมหัวนอนมาชายหญิงนั่งมาด้วยกัน  หนึ่งชเลาะตีด่ากัน  ร้องเพลงเรือเป่าปี่ขลุ่ย  สีซอดีดจเข้กระจับปี่ตีโทนทับโห่ร้องนี่นั่น อนึ่งพิริยหมู่แขกขอมลาวพม่าเมงมอญมสุมแสงจีนจามชวานานา ประเทษทังปวง  แลเข้ามาเดิรในท้ายสนมก็ดี  ทั้งนี้ไอยการขุนสนมห้าม...” 
เครื่องดนตรีและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องที่ปรากฏในกฎมณเฑียรบาล ได้แก่ เพลงเรือ ขับรำ ขลุ่ย ปี่ ซอ จะเข้ กระจับปี่ ทับ โทน
·       จดหมายเหตุลาลูแบร์   ปรากฏเรื่องดนตรีไทย ดังนี้ ซอ ปี่ กรับ ฆ้อง ฉาบ (ในจดหมายเหตุลาลูแบร์ใช้คำว่า “โฉ่งฉ่าง”) ฆ้องวง (พาทย์ฆ้อง) บัณเฑาะว์ (ตะลุงปุงปัง) ตะโพน กลองทัดโทน มีการร้องขับประกอบดนตรี (ช่างขับ) มีวงประโคม ซึ่งประกอบด้วย แตรและกลอง นอกจากนี้ ลาลูแบร์ยังบันทึกบทร้องเพลงสายสมรไว้ด้วย 
·       หนังสือจินดามณี  ปรากฏโคลงในหนังสือจินดามณี บรรยายถึงวงมโหรีไว้ว่า
                        นางขับขานเสียงแจ้ว        พึงใจ 
            ตามเพลงกลอนกลใน                    ภาพพร้อง  
            มโหรีบรรเลงไฉน              ซอพาทย์ 
            ทับ กระจับปี่ ก้อง                          เร่งเร้ารัญจวนฯ
            วงดนตรีไทย ที่ปรากฏในสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้แก่
·       วงขับไม้  ประกอบด้วย คนร้องหรือขับลำนำ บัณเฑาะว์ ซอสามสาย (เป็นวงดนตรีไทยที่สืบทอดมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย)  โดยวงขับไม้ใช้ในพระราชพิธีสมโภชต่างๆ เช่น พิธีสมโภชช้างเผือก เป็นต้น
·       วงมโหรี  จะมีหลายหลายแบบ เช่น วงมโหรีเครื่องสี่ ประกอบด้วยเครื่องดนตรี ดังนี้ คนร้องพร้อมตีกรับพวง ซอสามสาย กระจับปี่ และทับ  วงมโหรีเครื่องหก ประกอบด้วย โดยวงมโหรีเป็นวงสำหรับขับกล่อมในพระราชสำนัก  นอกจากนี้ ในโคลงบทหนึ่งในหนังสือจินดามณีก็มีการกล่าวถึงวงมโหรีตามที่อธิบายแล้วข้างต้น

                          à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงมโหรีเครื่องสี่  
                                   ภาพที่ ๑๗ วงมโหรีเครื่องสี่   
รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

                                                                    ภาพที่ ๑๘  วงมโหรีเครื่องหก
·       วงเครื่องสาย  เป็นการประสมวงดนตรีของชาวบ้านที่มีการรวมกันเล่นอย่างไม่มีแบบแผน สุดแต่ใครจะมีเครื่องดนตรีชนิดใด เช่น ซอด้วง ซออู้ จะเข้ กระจับปี่ โทน ฉิ่ง ฉาบ เป็นต้น (ปัญญา  รุ่งเรือง, ๒๕๔๖: ๙๖)
·       วงปี่พาทย์  แบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา และวงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก  วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบา อาจเรียกว่าปี่พาทย์ชาตรีก็ได้ เนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการเล่นโนราชาตรี ประกอบด้วย ปี่นอก โทนชาตรี กลองชาตรี ฆ้องคู่ ฉิ่ง  ปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาด ฆ้องวง ตะโพน กลองทัด (๑ ใบ)



 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เครื่องห้า (กรุงศรีอยุธยา)
 ภาพที่ ๑๙ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบาหรือวงปี่พาทย์ชาตรี   

  à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบาหรือวงปี่พาทย์ชาตรี 

            ภาพที่ ๒๐ วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนัก

·       วงปี่กลอง  เป็นการประสมวงประเภทวงเครื่องประโคมเพื่อใช้ในพระราชพิธี เช่น วงปี่ไฉนกลองชนะ และมีการประสมวงปี่กลองเพื่อใช้ในพิธีการอื่นๆ เช่น ปี่ชวากลองแขก เป็นต้น

            บทเพลง  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา พบหลักฐานที่บันทึกเรื่องบทเพลงไว้มากมาย แบ่งได้หลายประเภท เช่น ประเภทเพลงหน้าพาทย์ ใช้บรรเลงเพื่อประกอบการแสดงหรือประกอบพิธีกรรม ประเภทเพลงเกร็ด ใช้บรรเลงเพื่อการฟัง  ซึ่งส่วนมากจะเป็นการจดจำสืบทอดต่อกันมา ไม่มีการบันทึก อย่างไรก็ตาม ชาวต่างชาติได้บันทึกโน้ตและเนื้อร้องเพลงไทย ที่ปรากฏหลักฐานชัดเจน จำนวน ๒ เพลง คือ เพลงสุดใจ และเพลงสายสมร รายละเอียดดังนี้

·       เพลงสุดใจ  บันทึกโน้ตเพลงโดยนายเชอร์เว (Gervaise) เมื่อ พ.ศ.๒๒๓๑ บันทึกไว้ว่าชื่อเพลง “สุดใจ” (Sout Chai) พร้อมมีเนื้อร้องภาษาฝรั่งเศสกำกับไว้ใต้โน้ต โดยเนื้อร้องขึ้นต้นว่า “สุดใจเอย”
·       เพลงสายสมร  บันทึกโน้ตโดยนายซีมอง เดอ ลา ลูแบร์ (Simon de La Loubere) พ.ศ.๒๒๒๖ พร้อมมีเนื้อร้องภาษาฝรั่งเศสกำกับไว้ใต้โน้ต โดยเนื้อร้องขึ้นต้นว่า “สายสมรเอย”
บทบาทและหน้าที่ของดนตรีไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา แบ่งได้ ๓ ประเภท คือ
๑.    หน้าที่ประกอบการแสดงมหรสพ เช่น หนังใหญ่ โขน ละคร
๒.  หน้าที่ขับกล่อมหรือบรรเลงเพื่อการฟัง ได้แก่ วงมโหรีใช้ขับกล่อมในราชสำนัก และวงเครื่องสาย สำหรับความบันเทิงของชาวบ้าน
๓.  หน้าที่ประกอบพิธีกรรม ได้แก่ การประโคมและการแห่แหน ดนตรีบรรเลงในพิธีกรรมต่างๆ
           
            การละเล่นและศิลปะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  ในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีการละเล่นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย ยกตัวอย่างเช่น
๑.    โขน ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักบรรเลงประกอบ เพลงที่ใช้คือเพลงหน้าพาทย์
๒.  ละครนอก ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างเบาบรรเลงประกอบ เพลงที่ใช้คือเพลงหน้าพาทย์
๓.  ละครใน ใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้าอย่างหนักบรรเลงประกอบ เพลงที่ใช้คือเพลงหน้าพาทย์
๔.  หนังใหญ่  บทพากย์หนังใหญ่ในสมุทรโฆษคำฉันท์กล่าวถึงดนตรีไทย ดังนี้
                                                    ลงการากษสสำแดง อยุธยากล้าแข็ง
จะเล่นให้ท่านทั้งหลายดู
ชัยศรีโขลนทวารเบิกบานประตูฆ้องกลองตะโพนครู
ดูเล่นให้สุขสำราญ
              จึงจุดธูปเทียนฉับพลันจบเศียรโบกควัน
แล้วเจิมซึ่งปลายศรชัย
พลโห่ขานโห่หวั่นไหวปี่แแจ้วจับใจ
ตะโพนและกลองฆ้องขาน
              เร่งเร็วเอาเทียนติดปลายศรีอ่านเวทย์ขอพร
ศรีสวัสดิ์สมพอง
พลโห่ขานโห่ทั้งผองพิณพาทย์ตะโพนกลอง
ดูเล่นให้สำราญ


คลิปวีดีโอที่ ๑ การเล่นหนังใหญ่

๕.  กาพย์เห่เรือ
๖.   มหาชาติคำหลวง มีการกล่าวถึงดนตรี เช่น การขับรำ ตีแฉ่ง กลองประเภทต่างๆ ดุริยางค์ สังคีต แตรสังข์ ปี่จีน ปี่แก้ว สรไน มโหระทึก จะเข้  

ดนตรีไทยสมัยรัตนโกสินทร์
·     สมัยรัชกาลที่ ๑ (พ.ศ.๒๓๒๕ - พ.ศ.๒๓๕๒) ได้มีการเพิ่มกลองทัดเข้าไปในวงปี่พาทย์เครื่องห้า จากสมัยกรุงศรีอยุธยาที่มีเพียงใบเดียว เพิ่มเป็น ๒ ใบ มีเสียงสูงใบหนึ่ง เสียงดัง “ตู๊ม” และมีเสียงต่ำใบหนึ่ง เสียงดัง “ต้อม”
                                à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ภาพที่ ๒๑ วงปี่พาทย์เครื่องห้า สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
                
            นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองต่อจากคลองรอบกรุง เมื่อ พ.ศ.๒๓๒๘ พระราชทานนามว่า “คลองมหานาค” ตามแบบอย่างคลองนอกเขตพระนครที่กรุงศรีอยุธยา วัตถุประสงค์ของการขุดคลองนี้เพื่อให้ใช้เล่นเพลงสักวาในฤดูน้ำหลากเหมือนประเพณีเดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังในหนังสือประชุมบทสักวาเล่นถวายในรัชกาลที่ ๕ อธิบายว่า “ในกรุงรัตนโกสินทร์นี้ 
สักวาเล่นกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ที่โปรดฯ ให้ขุดคลองมหานาคทำเป็นเกาะเกียน อะไรต่างๆ ในรัชกาลที่ ๑ ก็จะได้เป็นที่สำหรับประชุมเล่นดอกสร้อยสักวา ตามฤดูกาล มาซาไปในรัชกาลที่ ๔ เพราะเล่นปี่พาทย์กันมาก และเข้าใจว่าเพราะพระราชทานอนุญาตให้ใครๆ เล่นละครผู้หญิงได้ไม่ห้ามดังแต่ก่อน ผู้มีบรรดาศักดิ์เล่นปี่พาทย์และละครกันเสียโดยมาก จึงไม่ใคร่มีใครเล่นสักวา...” (คณะอาจารย์ภาษาไทย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, ๒๔๙๑ อ้างโดย สงัด  ภูเขาทอง, ๒๕๓๒)

ตัวอย่างเพลงสักระวาพระทอง

                                    สักระวาขอบังคมองค์พรหมเมศ     เสด็จประเวศบรรลังก์ที่นังหงส์
                        ไหว้สยมภูวญาณสำราญองค์                     เสด็จทรงโกสีย์มณีนิล
                        ไหว้นารายณ์ฤทธิรงค์ผู้ทรงครุฑ                อยู่สมุทรทะเลนมบรรทมสินธุ์
                        ทั้งสามพระประเสริฐเลิศฟ้าดิน                 อย่าราคินเชิญมารับคำนับเอย
                
·     สมัยรัชกาลที่ ๒ (พ.ศ.๒๓๒๕ - พ.ศ.๒๓๖๗)  เป็นยุคที่ดนตรีไทยมีความรุ่งเรืองอย่างมาก สืบเนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสนพระทัยในเรื่องดนตรีไทย  อีกทั้งพระองค์ยังมีพระปรีชาสามารถในด้านดนตรีไทยโดยเฉพาะซอสามสาย ท่านทรงมีซอสามสายคู่พระหัตถ์ชื่อว่า “ซอสายฟ้าฟาด” อีกทั้งท่านพระราชนิพนธ์ “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” หรือ “เพลงสรรเสริญพระจันทร์” และเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ “เพลงทรงพระสุบิน” เหตุจากคืนหนึ่งท่านเสด็จเข้าที่พระบรรทม และทรงพระสุบินว่าพระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปในสถานที่แห่งหนึ่ง เป็นรมณียสถานสวยงาม ขณะนั้นทอดพระเนตรเห็นดวงจันทร์ลอยเข้ามาใกล้พระองค์และสาดแสงสว่างไสวไปทั่วบริเวณ ทันใดนั้น ก็ได้ทรงสดับเสียงดนตรีทิพย์อันไพเราะเสนาะพระกรรณ สร้างความเพลิดเพลินพระราชหฤหัย ครั้นแล้วดวงจันทร์ก็ค่อยๆ เลื่อนลอยถอยห่างออกไปในท้องฟ้า ทั้งเสียงดนตรีก็ค่อยๆ หายไป พลันก็เสด็จตื่นพระบรรทม แม้เสด็จตื่นพระบรรทมแล้วเสียงดนตรีในพระสุบินยังคงกังวานอยู่ในพระโสต จึงโปรดให้เจ้าพนักงานดนตรีเข้ามาต่อเพลงดนตรีนั้นไว้ แล้วพระราชทานชื่อว่า “เพลงบุหลันลอยเลื่อน” ซึ่งบทเพลงนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็น “เพลงสรรเสริญพระบารมี (แบบไทย)”  และในสมัยรัชกาลที่ ๖ เพลงทรงพระสุบินได้ถูกดัดแปลงใช้บรรเลงเป็น “เพลงสรรเสริญเสือป่า” ด้วย
นอกจากพระราชนิพนธ์เพลงบุหลันลอยเลื่อนแล้ว ท่านทรงพระกรุณาโปรดพระราชทาน “ตราภูมิคุ้มห้าม” ให้แก่เจ้าของสวนมะพร้าวที่มีต้นมะพร้าวซออยู่ให้สวน เพื่อไม่ต้องเสียภาษีอากร เนื่องจากกะโหลกซอสามสายต้องต้องใช้กะลามะพร้าวเป็นปุ่มสามเส้า มีรูปลักษณะพิเศษ เป็นของหายาก มิได้มีอยู่ทั่วไปทุกสวนมะพร้าว
นอกจากนี้ ในสมัยรัชกาลที่ ๒ การขับเสภาเป็นมหรสพที่ชาวบ้านให้ความนิยม เสภาในอดีตเป็นเพียงการขับทำนองเสภาอย่างเดียว โดยใช้กรับเสภา ๒ คู่เข้าประกอบการขับเท่านั้น ต่อมามีการนำวงปี่พาทย์เข้าไปประกอบเพื่อให้ช่างขับได้พักเหนื่อย ต่อมาช่างขับได้นำทำนองอย่างละครและมีการนำเอาปี่พาทย์เข้าไปรับคั่นร้อง และมีการนำ “กลองสองหน้า” มาใช้ตีหน้าทับแทนตะโพนกลองทัด เรียกวงปี่พาทย์ชนิดนี้ว่า “วงปี่พาทย์เสภา”

                              à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เสภา รัตนโกสินทร์ต้อนต้น           

                                                                     ภาพที่ ๒๒ วงปี่พาทย์เสภา                                


                                                        คลิปวีดีโอที่ ๒ กลองสองหน้า

·     สมัยรัชกาลที่ ๓ (พ.ศ.๒๓๖๗ - พ.ศ.๒๓๙๔)  มีการสร้างเครื่องดนตรีไทยขึ้นเพิ่มอีก ๒ ชนิด คือ ระนาดทุ้มและฆ้องวงเล็ก เพื่อนำมาประสมในวงปี่พาทย์ จากเดิมเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เมื่อเพิ่มเครื่องดนตรีไทยทั้ง ๒ ชนิดเข้าไปจะเป็น “วงปี่พาทย์เครื่องคู่”
การประสมวงดนตรีไทยสมัยนี้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก ลีลาการบรรเลงและเสียงของวงปี่พาทย์ก็เปลี่ยนไปเช่นกัน คือ มีเสียงทุ้มเพิ่มขึ้น มีลีลาการหยอกล้อระหว่างเครื่องหน้าและเครื่องหลัง ทางฆ้องวงเล็กและทางระนาดทุ้มทำให้วงปี่พาทย์มีสีสันและชีวิตชีวาเพิ่มมากกว่าแต่ก่อน
เครื่องดนตรีไทยที่เป็นประเภทเครื่องหน้า ได้แก่ ปี่พาทย์ ระนาดเอก ปี่ใน เครื่องสาย ซอด้วง จะเข้ ประเภทเครื่องหลัง ได้แก่ ปี่พาทย์ ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม เครื่องสาย ซออู้ ขลุ่ย

                                         à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง 
                                                                   ภาพที่ ๒๓ พระประดิษฐไพเราะ
                                                                (มี  ดุริยางกูร หรือ ครูมีแขก)
นักดนตรีไทย ในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีนักดนตรีที่มีชื่อเสียงคือ  พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี  ดุริยางกูร หรือครูมีแขก)  ดังปรากฏในบทไหว้ครู เสภาขุนช้างขุนแผนว่า “ครูมีแขกคนนี้เขาดีครัน เป่าทยอยลอยลั่นบรรเลงฦๅ”  พระประดิษฐ์ไพเราะ (มี ดุริยางกูร) สามารถบรรเลงเครื่องดนตรีได้หลายชนิด ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือ ปี่และซอสามสาย รับราชการตำแหน่งปลัดจางวางมหาดเล็ก เป็นครูและหัวหน้าวงปี่พาทย์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นตำรับการแต่งเพลงลูกล้อลูกขัดหรือเพลงประเภทเพลงทยอย ได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงจีนแส เพลงอาเฮีย เพลงชมสวนสวรรค์ เพลงแปะ เพลงทยอยใน เพลงทยอยนอก ทยอยเดี่ยว และได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระประดิษฐ์ไพเราะ จากการประพันธ์เพลงเชิดจีน 
·     สมัยรัชกาลที่ ๔ (พ.ศ.๒๓๙๔ - พ.ศ.๒๔๑๗) ได้มีการประดิษฐ์ เครื่องดนตรี เพิ่มขึ้นอีก ๒ ชนิด เลียนแบบ ระนาดเอก และระนาดทุ้ม โดยใช้โลหะทำลูกระนาด และทำรางระนาดให้แตกต่างไป เรียกว่า ระนาดเอกเหล็ก และระนาดทุ้มเหล็ก นำมาบรรเลงเพิ่มในวงปี่พาทย์เครื่องคู่ ทำให้ขนาดของวงปี่พาทย์ขยายใหญ่ขึ้นจึงเรียกว่า วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่”  กล่าวเฉพาะ ระนาดทุ้มเหล็ก  เป็นเครื่องตีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชดำริให้สร้าง โดยถ่ายทอดมากจากหีบเพลงฝรั่งอย่างเป็นเครื่องเขี่ยหวีเหล็ก

 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
ภาพที่ ๒๔  วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่

            ในสมัยนี้ นิยมการร้องเพลงส่งให้ดนตรีรับ หรือที่เรียกว่า “การร้องส่ง” กันมากจนกระทั่งการ          ขับเสภาซึ่งเคยนิยมกันมาก่อนค่อยๆ หายไป      
            นักดนตรีไทย ที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่ พระประดิษฐไพเราะ (มี ดุริยางกูร) และครูช้อย  สุนทรวาทิน
            ครูช้อย  สุนทรวาทิน (ไม่ทราบปีที่เกิดและปีที่ถึงแก่กรรม)  เป็นบุตรนายทั่ง บิดาเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียงในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ครูช้อยมีภรรยาชื่อไผ่ มีบุตรธิดา ๔ คน เป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง คือ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) เจ้ากรมพิณพาทย์หลวงในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
            ครูช้อย  สุนทรวาทิน ตาบอดตั้งแต่ยังเด็ก ได้เรียนดนตรีกับบิดาจนมีความสามารถเป็นอย่างยิ่ง สอนดนตรีในพระบรมมหาราชวัง ตำหนัก และบ้านข้าราชการชั้นผู้ใหญ่หลายแห่ง และสอนประจำที่วงปี่พาทย์วัดน้อยทองอยู่ ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน) พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) พระประดับดุริยกิจ (แหยม วีณิน) หลวงบรรเลงเลิศเลอ (กร กรวาทิน)  ครูช้อยท่านได้แต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก ประเภทเพลงสามชั้น เช่น เพลงแขกลพบุรี เพลงบังใบ เพลงอกทะเล เพลงแขกโอด เพลงใบ้คลั่ง เพลงเทพรัญจวน เพลงเขมรราชบุรี เพลงมาลีหวน ประเภทเพลงโหมโรง เช่น เพลงโหมโรงครอบจักรวาล เพลงโหมโรงมะลิเลื้อย เพลงโหมโรงไอยเรศ เป็นต้น
·     สมัยรัชกาลที่ ๕  (พ.ศ.๒๔๑๑ - พ.ศ.๒๔๕๓)  ในสมัยนี้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้า            กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงพระดำริปรับปรุงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ขึ้น เพื่อประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน  กุญชร) ได้ประดิษฐ์ขึ้นตามแนวทางการแสดงโอเปร่า (opera) ของตะวันตก  ในการปรับปรุงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ทำให้มีเครื่องดนตรีเกิดขึ้นใหม่ ๒ ชนิด คือ กลองตะโพน กับ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ  นอกจากนี้ หัวใจของวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์อยู่การตัดเครื่องดนตรีที่มีเสียงสูง ได้แก่ ปี่ ฆ้องวงเล็ก ซอด้วง ออก และไม้ตีใช้ไม้นวม  สาเหตุที่ชื่อวงดนตรีดึกดำบรรพ์เนื่องจากนำไปบรรเลงประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่ตั้งชื่อตามโรงละครซึ่งเป็นสถานที่แสดง
กลองตะโพน คือ ตะโพนแต่นำมาตีอย่างกลองทัด โดยใช้ไม้นวมที่ตีระนาดเป็นไม้ตี ไม่ได้ใช้ฝ่ามือตีอย่างตะโพน จึงเรียกกันว่า “กลองตะโพน” ซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงนำมาใช้คราวทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์สำหรับประกอบการแสดงละครดึกดำบรรพ์เมื่อปลายรัชกาลที่ ๕ โดยทรงประดิษฐ์เท้าหรือที่ตั้งสำหรับวางรองตะโพนข้างหนึ่ง ตั้งตะแคงลาดมาทางผู้ตีอย่างกลองทัด นอกจากใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์แล้วยังใช้ในวงปี่พาทย์ไม้นวมแทนกลองทัด
ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ  คือ ฆ้องหุ่ยเรียงขนาดตามเสียง ๗ เสียง จะตีตามเสียงสุดท้ายของวรรคเพลง ฆ้องหุ่ย ๗ ใบจะใช้ในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์เท่านั้น


คลิปวีดีโอที่ ๓ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กลองตะโพน à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ
       
              ภาพที่ ๒๕ กลองตะโพน                                     ภาพที่ ๒๖ ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ

บทเพลงไทย ที่ได้รับความนิยมตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงปัจจุบัน ได้แก่ เพลงเขมรไทรโยค และเพลงลาวดวงเดือน
เพลงเขมรไทรโยค   สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงนิพนธ์เพลงเขมรไทรโยค เมื่อครั้งตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสน้ำตกไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี  บทร้องเพลงเขมรไทรโยค ได้บรรยายความงามของน้ำตกไทรโยค และมีบทร้องที่ร้องแทนเสียงน้ำพุ “มันดังจอกจอก โครมโครม” และเสียงนกยูง “ก้อก ก้อก กระโต๊งห่ง”
เพลงลาวดวงเดือน  เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเพ็ญพัฒนพงศ์     กรมหมื่นพิไชยมหินทโรดม ซึ่งเป็นที่ระลึกถึงเจ้าหญิงชมชื่นหญิงอันเป็นที่รัก โดยมีรายละเอียดคือ ทรงแต่งในระหว่างเดินทางไปราชการหัวเมืองภาคเหนือและภาคอีสาน เดินทางด้วยเกวียน ท่านได้แนวการประพันธ์เพลงจากเพลงลาวดำเนินทราย จึงตั้งชื่อว่าเพลงลาวดำเนินเกวียน แต่เนื่องจากบทร้องเพลงนี้ขึ้นต้นว่า “โอ้ละหนอ ดวงเดือน” คนทั่วไปจึงเรียกตามบทร้องว่า “ลาวดวงเดือน”
นักดนตรีไทย ที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก  ประสานศัพท์) และพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน)
                         à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) 

                                                                                                        ภาพที่ ๒๗ พระยาประสานดุริยศัพท์
                                                                                                     (แปลก  ประสานศัพท์)

            พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก  ประสานศัพท์) (พ.ศ.๒๔๐๓ - พ.ศ.๒๔๖๗) เป็นผู้เชี่ยวชาญการบรรเลงเครื่องดนตรีไทยทุกชนิด ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือ ปี่ ขลุ่ย และระนาดเอก ท่านเคยตามเสด็จฯ สมเด็จวังบูรพาภิรมย์ไปประเทศอังกฤษ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรีย ครั้งนั้นนายแปลกได้ทำให้ชาวอังกฤษ รวมถึงสมเด็จพระราชินีนาถวิตอเรียพิศวงในวิธีการเป่าปี่และขลุ่ยของไทย จนต้องถามว่า “หายใจอย่างไร” เนื่องจากขลุ่ยและปี่ไทยมีเทคนิค “ระบายลม” ที่เป่าแล้วเสียงไม่ขาดช่วงได้เป็นเวลานาน  จะเห็นได้ว่าความสามารถทางดนตรีของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก  ประสานศัพท์)  นับได้ว่าเป็นเลิศทั้งฝีมือ ความรู้ ปฏิภาณไหวพริบ ความเป็นครู และความเป็นศิลปิน ท่านแต่งเพลงไว้จำนวนมาก เช่น เพลงเขมรปากท่อ เถา เพลงพม่าห้าท่อน สามชั้น เป็นต้น ท่านเป็นครูสอนดนตรีในวังต่างๆ เช่น วังบูรพาภิรมย์ สอนดนตรีวงเครื่องสายหญิงของเจ้าดารารัศมี ท่านรับราชการตำแหน่งสูงสุดคือ เจ้ากรมพิณพาทย์หลวง  ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) พระเพลงไพเราะ (โสม  สุวาทิต) พระยาภูมีเสวิน (จิตร จิตตเสวี) นายมนตรี  ตราโมท นายเฉลิม  บัวทั่ง เป็นต้น

          à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม สุนทรวาทิน)

                                                                                      ภาพที่ ๒๘ พระยาเสนาะดุริยางค์
                                                                                    (แช่ม  สุนทรวาทิน)

            พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน)  (พ.ศ.๒๔๐๙ – พ.ศ.๒๔๙๒)  เป็นบุตรของนายช้อยครูดนตรีที่มีชื่อเสียงมากในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังนั้น ท่านจึงเรียนดนตรีกับบิดาจนมีความเชี่ยวชาญ ได้เป็นนักดนตรีในวงปี่พาทย์ของเจ้าพระเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน  กุญชร) รับราชการเป็นเจ้ากรมปี่พาทย์หลวง ในสมัยรัชกาลที่ ๕  เป็นผู้ควบคุมวงดนตรีหลวงทั้งปี่พาทย์และมโหรี ฝึกซ้อมและควบคุมการแสดงละครดึกดำบรรพ์ บทพระนิพนธ์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เป็นผู้ควบคุมวงปี่พาทย์ของเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม  มาลากุล)  
            พระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน) แตกฉานการดนตรีและเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีเสียงเลื่องลือ คือ ปี่และระนาดเอก มีพรสวรรค์ในด้านการขับร้องเป็นอย่างมาก          ได้พัฒนาการขับร้องจากแบบแผนเดิมให้มีลีลาแบบใหม่   ท่านได้ประพันธ์เพลงไว้หลายเพลง เช่น ตับมอญกละ เพลงอาเฮีย เถา และที่สำคัญคือทางร้องเพลงต่างๆ อันเป็นหลักและแบบอย่างแก่การร้องเพลงไทยในปัจจุบัน

·     สมัยรัชกาลที่ ๖  (พ.ศ.๒๔๕๓ - พ.ศ.๒๔๖๘) ถือเป็นยุคทองของดนตรีไทย  ท่านทรงโปรดการละครและการดนตรี ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือ บทละครชนิดต่างๆ รวมทั้งบทละครแบบตะวันตก   พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงจัดตั้งกรมมหรสพแยกจากกรมโขนหลวง ทรงจัดตั้งกรมพิณพาทย์หลวงดูแลเรื่องของปี่พาทย์ เครื่องสาย และกลองแขก ปี่ชวา เพื่อใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีต่างๆ โดยมีวงปี่พาทย์วงหนึ่งสำหรับตามเสด็จฯ เรียกว่า วงข้าหลวงเดิมต่อมาเรียกว่า วงตามเสด็จ
นอกจากนี้ การละครและดนตรีเจริญรุ่งเรืองมาก ตามวังเจ้านายและคหบดี ต่างมีวงปี่พาทย์และครูที่มีภูมิรู้ประจำวง เกิดการพัฒนาด้านวิชาการดนตรีทั้งแนวคิด หลักการ วิธีการ ตลอดจนเทคนิคการประพันธ์ มีการวางระบบการบรรเลงหลากหลายวิธี ทั้งแบบพื้นฐาน การบรรเลงชั้นสูง และการบรรเลงเดี่ยว
เกิดรูปแบบการประสมวงดนตรีไทยกับเครื่องดนตรีต่างชาติ เช่น เครื่องสายประสมขิม เครื่องสายประสมเปียโนของตะวันตก เป็นต้น นับเป็นแบบแผนที่เอื้อให้ดนตรีไทยสามารถปรับตัวและสืบทอดต่อไปโดยไม่เสียเอกลักษณ์
เกิดกลุ่มนักดนตรีในราชสำนัก กลุ่มนักดนตรีอาชีพ และกลุ่มนักดนตรีสมัครเล่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงบรรดาครูดนตรีฝีมือดีให้กินอยู่ดีมีสุข และพระราชทานบรรดาศักดิ์ให้กับนักดนตรี  ในสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีนักดนตรีและนักร้องได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นจำนวนประมาณ ๖๐ ตำแหน่ง เป็น "พระยา" ๒ ตำแหน่ง "พระ " ๖ ตำแหน่ง "หลวง" ๑๖ ตำแหน่ง "ขุน" ๑๓ ตำแหน่ง และ "หมื่น" อีกประมาณ ๒๐ ตำแหน่ง มีราชทินนามเรียกคล้องจองกันตามลำดับบรรดาศักดิ์ ดังนี้ ประสานดุริยศัพท์ ประดับดุริยกิจ ประดิษฐ์ไพเราะ เสนาะดุริยางค์ สำอางค์ดนตรี ศรีวาทิต สิทธิ์วาทิน พิณบรรเลงราช พาทย์บรรเลงรมย์ ประสมสังคีต ประณีตวรศัพท์ คนธรรพวาที ดนตรีบรรเลง เพลงไพเราะ เพราะสำเนียง เสียงเสนาะกรรณ สรรเพลงสรวง  พวงสำเนียงร้อย สร้อยสำเนียงสนธ์ วิมลวังเวง บรรเลงเลิศเลอ บำเรอจิตรจรุง บำรุงจิตรเจริญ    เพลินเพลงประเสริฐ เพลิดเพลงประชัน สนั่นบรรเลงกิจ สนิทบรรเลงการ สมานเสียงประจักษ์     สมัคเสียงประจิตร์ วาทิตสรศิลป์ วาทินสรเสียง สำเนียงชั้นเชิง สำเริงชวนชม ภิรมย์เร้าใจ พิไลรมยา วีณาประจินต์ วีณินประณีต สังคีตศัพท์เสนาะ สังเคราะห์ศัพท์สอาง ดุริยางค์เจนจังหวะ ดุริยะเจนใจ ประไพเพลงประสม ประคมเพลงประสาน ชาญเชิงระนาด ฉลาดฆ้องวง บรรจงทุ้มเลิศ  บรรเจิดปี่เสนาะ ไพเราะเสียงซอ คลอขลุ่ยคล่อง ว่องจะเข้รับ ขับคำหวาน ตันตริการเจนจิต  ตันตริกิจปรีชา นารทประสาทศัพท์ คนธรรพประสิทธิ์สาร และยังมีจตุสดมภ์อีก ๔ คือ เจน จัด ถนัด ถนอม ลงท้ายด้วยดุริยางค์หมด ได้แก่ เจนดุริยางค์ จัดดุริยางค์ ถนัดดุริยางค์ ถนอมดุริยางค์
มีเครื่องดนตรีชนิดใหม่ในวงการดนตรีไทย คือ อังกะลุง โดยหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง ดัดแปลงจาก อุงคะลุง ของชวา คราวตามเสด็จเจ้าฟ้า กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดชไปประเทศอินโดนีเซีย นอกจากนั้น ยังได้ประพันธ์เพลงไทยสำเนียงชวาหลายบทเพลง เช่น ยะวา บูเซ็นซอค สะมารัง กระหรัดรายา เป็นต้น
มีการตั้งกองเครื่องสายฝรั่งหลวงซึ่งเป็นวงดนตรีสากล โดยผู้วางรากฐานสำคัญของการพัฒนาดนตรีสากลในราชการนี้ก็คือ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

                                                           à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ พระเจนดุริยางค์
                                                                 ภาพที่ ๒๙  พระเจนดุริยางค์             
                                                                        (ปิติ  วาทยะกร)

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วงเครื่องสายฝรั่งหลวงสมัยรัชกาลที่ ๖

                                              ภาพที่ ๓๐ วงเครื่องสายฝรั่งหลวงสมัยรัชกาลที่ ๖
                              

นักดนตรีไทย ที่มีชื่อเสียงในสมัยนี้ ได้แก่ สมเด็จฯ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์ วรพินิต  หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)  และจางวางทั่ว พาทยโกศล ทั้ง ๓ ดุริยกวีเกิดปีเดียวกัน คือ พ.ศ.๒๔๒๔ ปีมะเส็ง

               à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง 
               ภาพที่ ๓๑ สมเด็จพระเจ้าบรมเธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์  กรมพระนครสวรรค์วรพินิต (พ.ศ.๒๔๒๔ - พ.ศ.๒๔๘๗) หรือ ทูนกระหม่อมบริพัตรฯ หรือ สมเด็จวังบางขุนพรหม  ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ และพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๒๔ ในด้านดนตรี
ทูนกระหม่อมบริพัตรฯ ได้รับการยกย่องว่าทรงเป็นนักดนตรี นักแต่งเพลงไทยสากล และเป็นคนไทยคนแรกที่เรียนรู้และแต่งเพลงโดยวิธีการเขียนเป็นโน้ตสากล โดยแยกเสียงประสานถูกต้องตามหลักสากลนิยม นอกจากนั้น ท่านทรงชำนาญซอสามสาย  ทูนกระหม่อมบริพัตรฯ ทรงแต่งเพลงสากล เช่น เพลงวอลซ์ประชุมพล วอลซ์เมขลา มาร์ชบริพัตร ฯลฯ นอกจากนี้ยังทรงแยกเสียงประสานเพลงไทยสำหรับบรรเลงด้วยวงโยธวาทิต ได้ทรงประดิษฐ์เพลงแตรวงไว้มากมายหลายเพลง เช่น มหาฤกษ์ มหาชัย สรรเสริญเสือป่า (บุหลันลอยเลื่อนทางแตร) เขมรใหญ่เถา แขกสาหร่ายเถา แขกมอญบางขุนพรหมเถา บุหลันชกมวยสามชั้น


                                                                                         à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)
                                                             ภาพที่ ๓๒ หลวงประดิษฐไพเราะ
                                                            (ศร  ศิลปบรรเลง)
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) (พ.ศ.๒๔๒๔ -         พ.ศ.๒๔๙๗) เกิดวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๔ เป็นบุตรนายสินกับนางยิ้ม บิดาเป็นนักดนตรีไทยที่มีชื่อเสียง หลวงประดิษฐไพเราะเริ่มเรียนดนตรีกับบิดา ต่อมาได้เป็นศิษย์พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เรียนเพลงมอญกับครูสุ่ม  ดนตรีเจริญ เป็นมหาดเล็กในจอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทำหน้าที่นักดนตรีและครูสอนดนตรี ต่อมารับราชการเป็นปลัดกรมปี่พาทย์หลวงในสมัยรัชกาลที่ ๗ และมีโอกาสถวายความรู้และแนะนำการแต่งเพลงไทยแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นผู้ควบคุมวงวังลดาวัลย์และวังบางคอแหลม 
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ดีทุกชนิด ที่ได้รับการยกย่องเป็นพิเศษ คือ ระนาดเอก เป็นต้นตำรับการแต่งเพลงแบบต่างๆ เช่น เพลงกรอ การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก ๒ ราง แต่งเพลงที่มีลูกนำ (intro) ขึ้นต้น ริเริ่มการบรรเลงมหาดุริยางค์ นำอังกะลุงและปี่พาทย์มอญมาบรรเลงในไทย ริเริ่มแต่งเพลงทางเปลี่ยน และเป็นผู้คิดโน้ตเลข ๙ ตัวเพื่อใช้สอนดนตรีไทย ท่านแต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงเชิดจีน ทางวังบางคอแหลม เพลงนกเขาขะแมร์ เถา เพลงแสนคำนึง เถา เพลงไส้พระจันทร์ เถา เป็นต้น
                                                 à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ จางวางทั่ว พาทยโกศล
     ภาพที่ ๓๓  จางวางทั่ว  พาทยโกศล
จางวางทั่ว  พาทยโกศล (พ.ศ.๒๔๒๔ - พ.ศ.๒๔๘๑) เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ.๒๔๒๔ เป็นบุตรของหลวงกัลยาณมิตตาวาส (ทับ  พาทยโกศล) บิดาเป็นนักดนตรีที่มีชื่อเสียง กับนางแสง มารดาเป็นผู้มีฝีมือในการดีดจะเข้ และเป็นครูสอนดนตรีในราชสำนักรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จางวางทั่วเรียนดนตรีกับบิดา มารดา และครูทองดี  ชูสัตย์ ต่อมาเรียนระนาดและฆ้องวงกับครูรอด และยังได้เรียนกับครูต่วน ครูทั่ง ครูช้อย  สุนทรวาทิน และพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก  ประสานศัพท์) นอกจากนี้ยังเรียนการประสานเสียงกับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
จางวางทั่ว  พาทยโกศล เป็นผู้ที่มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ทุกชนิด ทั้งปี่พาทย์ เครื่องสาย และยังขับร้องได้ดีอีกด้วย  ท่านแต่งเพลงไว้เป็นจำนวนมาก เช่น เพลงตับนกสีชมพู เพลงกัลยาเยี่ยมห้อง เถา เป็นต้น นอกจากนี้ได้ทำทางบรรเลงสำหรับวงโยธวาทิตอีกมาก และยังได้นำวงปี่พาทย์พาทยโกศลบรรเลงบันทึกแผ่นเสียงไว้เป็นจำนวนมาก ปัจจุบันบ้านพาทยโกศล เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านดนตรีไทย อยู่บริเวณท้ายวัดกัลยาณมิตร เขตธนบุรี

·     สมัยรัชกาลที่ ๗ (พ.ศ.๒๔๖๘ - พ.ศ.๒๔๗๗)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสนพระทัยทางด้านดนตรีไทยมาก มีซอประจำพระองค์ชื่อ “ซอตุ๋น” พระองค์ได้พระราชนิพนธ์เพลงไทยที่ไพเราะไว้ถึง ๓ เพลง คือ ๑) เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง  ๒) เพลงเขมรลออองค์ เถา   ๓) เพลงราตรีประดับดาว เถา  นอกจากนี้ พระองค์และพระราชินีได้โปรดให้ครูดนตรี คือ หลวงไพเราะเสียงซอ (อุ่น ดูริยชีวิน) และหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) เข้าไปถวายการสอนดนตรีในวังอีกด้วย 
                                    à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง
                                                        
            ภาพที่ ๓๔ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว กับ ซอประจำพระองค์ชื่อ “ซอตุ๋น”

·     สมัยรัชกาลที่ ๘ (พ.ศ.๓๔๗๗ - ๒๔๘๙)
            มีการประกาศนโยบายรัฐนิยม ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงคราม เพื่อปลุกระดมความรักชาติและปรับปรุงวัฒนธรรมให้เหมือนอารยประเทศ โดยออกประกาศทั้งหมด 12 ฉบับ โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับดนตรีไทย ดังนี้
-   ฉบับที่ 6 เรื่องทำนอง และเนื้อร้องเพลงชาติ     
ตามที่จอมพล ป.พิบูลสงคราม มีมติให้เปลี่ยนเพลงชาติไทยที่ใช้มาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ โดยจัดให้มีการประกวดเพลงชาติไทยขึ้นเมื่อวันที่ ๒๖ สิงหาคม พ.ศ.๒๔๘๒ ในการประกวดครั้งนี้มีผู้ส่งบทร้องเข้าประกวดมากมาย ผู้ที่ได้รับรางวัลที่ ๑ คือ พ.อ.หลวงสารานุประพันธ์ (นวล  ปาจิณพยัคฆ์) ส่งประกวดในนามกองทัพบก จึงมีประกาศรัฐนิยมให้ใช้บทร้องเพลงชาติ ดังนี้ ๑) ทำนองเพลงชาติ ให้ใช้ทำนองของพระเจนดุริยางค์ตามแบบที่อยู่ที่กรมศิลปากร ๒) เนื้อร้องเพลงชาติ ให้ใช้บทร้องของกองทัพบก ดังนี้
 “ประเทศไทย รวมเลือดเนื้อ ชาติเชื้อไทย เป็นประชารัฐ ไผทของไทยทุกส่วน อยู่ดำรงคงไว้ได้ทั้งมวล ด้วยไทยล้วนหมายรักสามัคคี ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด เอกราชจะไม่ให้ใครขมขี่ สละเลือดทุกหยาดเป็นชาติพลี เถลิงประเทศชาติไทยทวีมีชัย ชโย…”
-   ฉบับที่ 8 เรื่องเพลงสรรเสริญพระบารมี
-   ฉบับที่ 11  ต้องมีบัตรนักดนตรี, เล่นดนตรีบนเก้าอี้, การกำหนดชื่อเพลง

                                          à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ รัชกาลที่ ๘

                    ภาพที่ ๓๕ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ฯ

            สมัยรัชกาลที่ ๙ (พ.ศ.๒๔๘๙ - ปัจจุบัน) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระราชนิพนธ์เพลงไว้เป็นจำนวนมาก โดยเพลงที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยได้แก่ เพลงพระราชนิพนธ์เกษตรศาสตร์ และเพลงใกล้รุ่ง ต่อมามีครูดนตรีไทยนำทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ มาเป็นแนวทางในการประพันธ์เพลงไทย ได้แก่ เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ โดยนายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล นำเพลงพระราชนิพนธ์มหาจุฬาลงกรณ์ไปเรียบเรียงและปรับปรุงขึ้นเป็นทางปี่พาทย์ เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์นี้ เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยในฝ่ายดนตรีไทยนับแต่นั้นมา และเพลงโหมโรงมหาราช โดยครูมนตรี  ตราโมท ได้นำเพลงใกล้รุ่ง เราสู้ และเพลงสายฝน มาเรียบเรียงตามแนวดุริยางคศาสตร์ไทย เพลงนี้ประพันธ์ขึ้นเพื่อทูลเกล้าฯ ถวาย เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ

                                               à¸œà¸¥à¸à¸²à¸£à¸„้นหารูปภาพสำหรับ นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล
          ภาพที่ ๓๖ ครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ครูดนตรีไทยผู้นำทำนองเพลงพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๙ 
                                         มาเป็นแนวทางในการประพันธ์ " เพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์ " 

ดนตรีไทยในรัชสมัยนี้ ถูกพัฒนาให้มีรูปแบบที่เป็นมาตรฐานมากขึ้น มีการตรวจสอบและบันทึกโน้ตเพลงไทยต่างๆ ในหลายรูปแบบ เช่น โน้ตตัวเลข โน้ตโด เร มี รวมถึงโน้ตสากล นอกจากนี้ ยังมีการประสมวงในรูปแบบใหม่เพิ่มเติม คือ วงมหาดุริยางค์ และวงดนตรีไทยร่วมสมัย
วงมหาดุริยางค์  เป็นการประสมวงโดยการเพิ่มขนาดของวงมโหรีเครื่องใหญ่ให้มีจำนวนของเครื่องดนตรีมากขึ้น วงมหาดุริยางค์ปรากฏเป็นครั้งแตกเมื่อ พ.ศ.๒๒๔ ในงานฉลองการครบรอบ ๑๐๐ ปีของหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) โดยมีนักดนตรีจากสถาบันต่างๆ มาบรรเลงพร้อมกันเป็นวงขนาดใหญ่จำนวน ๑๐๐ กว่าคน เมื่อนำออกมาแสดงได้รับความสนใจเป็นอย่างมากเพราะเป็นวงขนาดใหญ่ตระการตา ต่อมามีการนำไปใช้ในงานชุมนุมต่างๆ เช่น งานดนตรีไทยอุดมศึกษา เป็นต้น
วงดนตรีไทยร่วมสมัย  คือ วงดนตรีที่นำเอาเครื่องดนตรีไทยมาบรรเลงผสมกับเครื่องดนตรีตะวันตก โดยมีการปรับปรุงระบบเสียงเครื่องดนตรีทั้งสองประเภทและบทเพลงให้เหมาะสม  วงดนตรีไทยร่วมสมัยเกิดขึ้นในปี พ.ศ.๒๕๐๓ โดยกรมประชาสัมพันธ์ มีการปรับปรุงเพลงไทย เช่น เพลงลาวดำเนินทราย เขมรไทรโยค ให้เป็นเพลงไทยสากล คือ นำเอาทำนองเพลงไทยมาใส่เนื้อร้องและลักษณะการบรรเลงแบบดนตรีสากล เล่นสลับกันทั้งวงดนตรีไทยและวงดนตรีสากล หรือบรรเลงพร้อมกันบ้าง เรียกว่า “ดนตรีแบบสังคีตสัมพันธ์” ต่อมามีแนวคิดคัดเลือกเฉพาะเครื่องดนตรีบางชนิดมาบรรเลงในวงดนตรีสากล เรียกว่า “สังคีตประยุกต์” โดยคัดเลือกเอาเครื่องดนตรีไทยเพียงชิ้นเดียวมาบรรเลงเดี่ยวในท่อนแยกหรือท่อนโชว์เดี่ยว (Solo) เป็นการเพิ่มสีสันไปอีกรูปแบบหนึ่ง
วงดนตรีร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมสูง คือ “วงดนตรีสุนทราภรณ์” ก่อตั้งโดยครูเอื้อ  สุนทรสนาน โดยมีที่มาจากนามสกุลของครูเอื้อ  สุนทรสนาน สนธิคำกับชื่อคนรักของครูเอื้อ ชื่อ อาภรณ์ เป็น “สุนทราภรณ์” เป็นวงดนตรีลูกกรุงที่นิยมนำเพลงไทยมาดัดแปลง เช่น เพลงพรพรหม ดัดแปลงจาก เพลงแขกมอญบางขุนพรหม เป็นต้น
นอกจากนี้ ยังมีวงดนตรีไทยร่วมสมัยที่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักมาก คือ วงฟองน้ำ ก่อตั้งโดยอาจารย์บรู๊ซ  แก๊สตั้น และครูบุญยงค์  เกตุคง  โดยนำเพลงไทยมาปรับปรุงและนำเครื่องดนตรีสากลและบทกวีนิพนธ์มาเป็นแนวคิดในการประพันธ์เพลงจนมีเอกลักษณ์ ทั้งนี้ไม่เน้นใช้วงดนตรีไทยทั้งวงแต่จะคัดเลือกเฉพาะบางเครื่องดนตรี เช่น ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ขลุ่ย ผสมกับเครื่องดนตรีสากล และใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการแต่งบรรยากาศในการบรรเลงด้วย 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง à¸£à¸¹à¸›à¸ à¸²à¸žà¸—ี่เกี่ยวข้อง

ภาพที่ ๓๗ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ฯ






อ้างอิงจาก https://www.youtube.com/watch?v=w69gQBS3w7M
อ้างอิงจาก https://www.youtube.com/watch?v=wllP7sKG8Uw
อ้างอิงจาก https://www.youtube.com/watch?v=CYYeimEPjgc
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%86%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%A2+%E0%B9%97+%E0%B9%83%E0%B8%9A&tbm=isch&source=iu&ictx=1&fir=PmKXWjCggpoaAM%253A%252CXQ78QfLQyIyaEM%252C_&usg=AI4_-kTCAtlc2NRcaKigVV9BPZa0djJ_9Q&sa=X&ved=2ahUKEwis38aAvt3gAhWJqo8KHZuSBcEQ9QEwAnoECAUQCA#imgrc=PmKXWjCggpoaAM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C+(%E0%B9%81%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%81+%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%9E%E0%B8%97%E0%B9%8C)&tbm=isch&source=iu&ictx=1&fir=T0WXqVprcdryXM%253A%252CPqphAbf2hERtGM%252C_&usg=AI4_-kRsxNwMdIWZQGYnICwsA0ulmrKeQQ&sa=X&ved=2ahUKEwiE_ZWfv93gAhUFrY8KHSsZBScQ9QEwAnoECAMQBg#imgrc=T0WXqVprcdryXM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C+(%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A1+%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%99)&tbm=isch&source=iu&ictx=1&fir=iwyZ_Pn3NKHepM%253A%252CfuYk4xw7RHcDSM%252C_&usg=AI4_-kRAsAPrWeFKZ7Tbbcdn5qKzl_MEtg&sa=X&ved=2ahUKEwiigv33v93gAhVCpY8KHW9EB_MQ9QEwAnoECAIQBg#imgrc=bCFfGo-DqP0VRM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiblsLbwN3gAhUH6Y8KHWlhBoQQ_AUIDigB#imgrc=FIXXS_hEyrDwOM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%9D%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+%E0%B9%96&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjc5aqUwd3gAhUHcCsKHa7LB6QQ_AUIDigB&biw=2049&bih=985#imgrc=DxYLDGtl2Eu2NM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%98%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%8C+%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%95&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjHh7rewd3gAhWRfH0KHcS1B3AQ_AUIDigB&biw=2049&bih=985#imgrc=MqiQCIrmRhlvXM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B8%90%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0+(%E0%B8%A8%E0%B8%A3+%E0%B8%A8%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%87)&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwi8y8O1wt3gAhXDknAKHZYSDR4Q_AUIDigB#imgrc=eFq4RB4xv8lg5M:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7+%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjhh--OxN3gAhUXbo8KHUbQCcQQ_AUIDigB&biw=2049&bih=985#imgrc=cSGKTXDNkd0bfM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%88%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9B%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B8%AD&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwiFm9f3xN3gAhXKpI8KHRnsBhAQ_AUIDigB&biw=2049&bih=985#imgrc=PbEr3eFwokBUXM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88+%E0%B9%98&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjCgt3axt3gAhWaXSsKHbNzDn4Q_AUIDigB#imgrc=gMsC_FL3I0XyhM:
อ้างอิงจาก https://www.google.com/search?q=%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B9%8C+%E0%B8%9E%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%82%E0%B8%81%E0%B8%A8%E0%B8%A5&source=lnms&tbm=isch&sa=X&ved=0ahUKEwjHkZicyd3gAhWMK48KHe6WDIMQ_AUIDygC#imgrc=DeA962X7NeVhFM:

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น